nacc

แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์
Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้ดำเนินโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ซึ่งเป็นการประเมินเพื่อวัดระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน
มีกรอบการประเมินใน 5 ดัชนี ได้แก่ 1. ดัชนีความโปร่งใส 2. ดัชนีความพร้อมรับผิด 3. ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน 4. ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และ 5. ดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน โดยมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมิน 3 เครื่องมือ ได้แก่ 1. แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment (EBIT) 2. แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน Internal Integrity and Transparency Assessment (IIT) และ 3. แบบสำรวจความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก External Integrity and Transparency Assessment (EIT)
  สำหรับแบบสำรวจนี้เป็นแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์ Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment (EBIT) ใช้ประเมินในดัชนีความโปร่งใส

ดัชนีความพร้อมรับผิด ดัชนีความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน ดัชนีวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และดัชนีคุณธรรมการทำงานในหน่วยงานซึ่งจะจัดเก็บข้อมูลจากการตอบแบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์นี้ พร้อมกับเอกสารหลักฐานที่แนบประกอบการตอบ จำนวน 1 ชุด ต่อ 1 หน่วยงาน

  ผลการประเมินจะแสดงถึงระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานได้รับทราบและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา
และปรับปรุงการดำเนินงาน/การปฏิบัติราชการให้มีคุณธรรมและความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ลดโอกาสการทุจริตในหน่วยงาน และเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมสูงสุด
ขอขอบคุณในความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้

ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ภารกิจหลักของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ

1. รับผิดชอบงานด้านวิชาการและธุรการของวุฒิสภา
  1.1 งานด้านวิชาการและธุรการในการประชุมวุฒิสภา
  1.2 งานด้านวิชาการและธุรการในการประชุมคณะกรรมาธิการ
2. สนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะบทบาทการดำเนินงานทางด้านนิติบัญญัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ของวุฒิสภา
3. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาดำเนินการงาน ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา
4. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัย รวมทั้งการเปรียบเทียบข้อมูลของนานาอารยะประเทศทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
กับวงงานรัฐสภาต่างประเทศ ของวุฒิสภา
5. ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา
6. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประกาศและคำสั่งได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาในการสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภา เช่น ด้านงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่วุฒิสภามอบหมาย
  คำอธิบายวิธีการตอบแบบสำรวจ
                     1.  โปรดใส่เครื่องหมาย  ลงในช่อง  ที่เป็นตัวเลือกคำตอบ ดังนี้
                                    มีการดำเนินการ
                                     ไม่มีการดำเนินการ พร้อมเหตุผลประกอบ
                     2.  ระบุรายการเอกสารหลักฐานที่อ้างอิง โดยหน่วยงานจะต้องแนบเอกสาร/หลักฐานที่อ้างอิงประกอบการตอบด้วย
                     3.  จัดทำแบบสำรวจ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่อ้างอิงประกอบการตอบในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และบันทึกข้อมูลลงในแผ่นซีดีเพื่อจัดส่งให้ผู้ประเมิน ดังนี้
                            แบบสำรวจ จัดทำเป็นไฟล์ Word (.docx หรือ .doc)
                            เอกสาร/หลักฐานที่อ้างอิงประกอบการตอบ จัดทำเป็นไฟล์ PDF (.pdf) โดยสร้างโฟลเดอร์ในแต่ละข้อและบันทึกเอกสาร/หลักฐานประกอบการตอบลงโฟลเดอร์นั้นๆ ให้ชัดเจน
                     4.  ข้อคำถามเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ของหน่วยงาน ขอให้ระบุลิงก์ (Link) สำหรับการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของหน่วยงานในช่อง “Website” เพื่อให้ผู้ประเมินตรวจสอบประกอบการพิจารณาให้คะแนน
ดัชนีความโปร่งใส
ตัวชี้วัด: การเปิดเผยข้อมูล
 

ตัวชี้วัด: การเปิดเผยข้อมูล
EB1

ตัวชี้วัด: การมีส่วนร่วม
EB2

ตัวชี้วัด: การจัดซื้อจัดจ้าง
EB3

ตัวชี้วัด: การดำเนินงานตามภารกิจ
EB4

ตัวชี้วัด: การปฏิบัติงานตามหน้าที่
EB5

ตัวชี้วัด: เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
EB6
EB7

ตัวชี้วัด: การรับสินบน
EB8

ตัวชี้วัด: การเสริมสร้างวัฒนธรรมสุจริต
EB9

ตัวชี้วัด: การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน
EB10

ตัวชี้วัด: แผนป้องกันและปราบปรามการทุจริต
EB11

ตัวชี้วัด: มาตรฐานและความเป็นธรรมในการปฏิบัติงานและการให้บริการ
EB12