หลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและญัตติที่เสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา

หลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและญัตติที่เสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา

หลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติและญัตติ
ที่เสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา ของคณะกรรมาธิการ
วิสามัญกิจการวุฒิสภา

. การพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติเป็นการล่วงหน้า ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๖

คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ได้วางหลักการในการดำเนินการตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๖ ไว้ ๒ แนวทาง คือ

แนวทางที่ ๑ หากร่างพระราชบัญญัติ ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการในวาระที่หนึ่งนั้น มีรัฐมนตรีใดเป็นผู้รักษาการหรือมี ส่วนราชการใดเป็นเจ้าของเรื่อง หรือมีสาระสำคัญ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะ พิจารณาว่าร่างฯ นั้นอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะใด แล้วจึง มีมติมอบหมายร่างฯ นั้น ให้คณะกรรมาธิการ สามัญประจำวุฒิสภาเพียงคณะเดียวพิจารณา ศึกษาล่วงหน้า ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๖

แนวทางที่ ๒ หากร่างพระราชบัญญัติ ที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการในวาระที่หนึ่งนั้น มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภามากกว่าหนึ่งคณะหรือมีรัฐมนตรีรักษาการมากกว่าหนึ่งคน หรือมีส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี มากกว่าหนึ่งหน่วยงานเป็น เจ้าของเรื่อง คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะมีมติให้มีการพิจารณาศึกษาล่วงหน้าร่วมกันโดยคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภามากกว่าหนึ่งคณะ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๖

. การพิจารณาเลือกตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติ

คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาได้วางแนวทางการเสนอความเห็นต่อที่ประชุมวุฒิสภากรณีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และร่างพระราชบัญญัติ ในชั้นวุฒิสภา ไว้ ๓ แนวทางคือ

แนวทางที่ ๑ กรรมาธิการเต็มสภา เป็นผู้พิจารณา

เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับใด ๆ มีสาระสำคัญไม่สลับซับซ้อน มีจำนวนมาตราน้อย

แนวทางที่ ๒ คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา เป็นผู้พิจารณา

เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติฉบับใดๆ มีสาระสำคัญเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา คณะใด คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ก็อาจเสนอความเห็นต่อที่ประชุมวุฒิสภาให้พิจารณามอบหมายให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะนั้น เป็นผู้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นได้

รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาในรอบหนึ่งปี ส่วนที่ ๓ หน้า ๒๓

๒ รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาในรอบหนึ่งปี ส่วนที่ ๓ หน้า ๒๑

๓ เป็นการดำเนินการตามข้อบังคับฯ ข้อ ๘๐ () ที่กำหนดให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ประสานงานกับคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาทุกคณะและสมาชิก เกี่ยวกับการพิจารณารายชื่อสมาชิกหรือบุคคลใดๆ ที่จะเสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาเลือกตั้งเป็นกรรมาธิการสามัญหรือกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๘๑ หรือข้อ ๑๐๒ แล้วแต่กรณี เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม และเป็นธรรม

๔ อาทิ กฎหมายที่เป็นการปรับปรุงถ้อยคำบางคำในกฎหมายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงผู้รักษาการ หรือกฎหมายเวนคืนที่ดินที่มิได้มีผลกระทบกว้างขวาง เป็นต้น

ข้อบังคับฯ ข้อ ๘๑ วรรคสอง ในการเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติ ให้คณะรัฐมนตรี ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวข้องเสนอรายชื่อได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด แต่ในการเลือกคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการในเรื่องอื่นๆ ให้ประกอบด้วยบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด

๖ ข้อบังคับฯ ข้อ ๘๓ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานวุฒิสภาวินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือผู้ทุพพลภาพ หากวุฒิสภามิได้พิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้น มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด ทั้งนี้โดยมีสัดส่วนหญิงและชายที่ใกล้เคียงกัน

๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๖๓ วรรคสี่ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่ง สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้น ชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ และคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย

โดยปกติประธานวุฒิสภาจะมีดำริมอบหมายให้คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ช่วยพิจารณาให้เป็นไปตามข้อบังคับฯ ข้อ ๓๘ กล่าวคือ หากเป็นกรณีขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ก็จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวไม่ซ้ำหรือซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะต่างๆ

สำหรับกรณีเป็นญัตติอันเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตัวสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป ตามมาตรา ๑๖๑ ของรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะพิจารณาในประเด็นการบริหารจัดการ อาทิ การประสานและจัดลำดับ

 

แนวทางที่ ๓ คณะกรรมาธิการวิสามัญ เป็นผู้พิจารณา

เมื่อคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติ ฉบับใดๆ มีสาระสำคัญเกี่ยวเนื่องกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาหลายคณะ หรือมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับฟังความคิดเห็น

จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดจนต้องพิจารณาโดยละเอียดรอบคอบ หรือสมควรรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องนั้นๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ก็อาจเสนอความเห็นต่อที่ประชุมวุฒิสภา ให้พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นๆ ซึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯนั้น นอกเหนือจากจะพิจารณาโดยคำนึงถึงการให้สัดส่วนแก่หน่วยงานเจ้าของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น คณะรัฐมนตรี ศาลต่างๆ หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือเด็ก เยาวชน สตรี และ ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ หรือทุพพลภาพตามที่ข้อบังคับฯ กำหนดแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาจะให้ความสำคัญกับหลักการการมีส่วนร่วมของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาทุกคณะ ประกอบกับจะพิจารณาว่าเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนั้นๆ มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับภารกิจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะใดคณะหนึ่งเป็นการเฉพาะหรือไม่ด้วย

นอกจากนี้ หากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนเข้าชื่อเสนอนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๓บัญญัติให้การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างฯ จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมดด้วย

. การพิจารณาญัตติที่สมาชิกวุฒิสภาขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ

สำหรับการพิจารณาญัตตินั้น เป็นแนวการพิจารณาที่คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ได้รับมอบหมายจากประธานวุฒิสภาให้ช่วยพิจารณากลั่นกรอง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเบื้องต้นของประธานวุฒิสภา หรือที่ประชุมวุฒิสภา หรือเป็นการพิจารณาในทาง

การอภิปราย กำหนดช่วงเวลาและระยะเวลาอภิปราย ตลอดจนการประสานคณะกรรมการประสานงาน สภาผู้แทนราษฎร ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือการดำเนินการถ่ายทอดสดการอภิปราย

 

การบริหารจัดการเพื่อให้การพิจารณาในที่ประชุมวุฒิสภาเกี่ยวกับญัตตินั้นๆ แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และหากคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาหรือผู้เสนอญัตติ ในกรณีเป็นญัตติตามข้อบังคับฯ ข้อ ๓๘ เห็นว่าสมควรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อดำเนินการตามญัตตินั้น ก็จะต้องพิจารณาจำนวน องค์ประกอบ ที่มา ตลอดจนกำหนดระยะเวลาการปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมาธิการวิสามัญที่จะตั้งขึ้น ในกรณีหากที่ประชุมวุฒิสภามีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาและคณะกรรมาธิการกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องนั้นไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ข้อบังคับฯ ข้อ ๙๗ กำหนดว่า ประธานคณะกรรมาธิการหรือผู้ทำหน้าที่แทนต้องรายงานให้ประธานวุฒิสภาทราบโดยด่วน ทั้งนี้ ถ้าอยู่ในระหว่างสมัยประชุมสามัญทั่วไป ให้ประธานวุฒิสภาเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภา และที่ประชุมวุฒิสภาอาจลงมติให้ขยายเวลาที่ได้กำหนดไว้ หรือดำเนินการอย่างอื่นสุดแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะเห็นสมควร แต่ถ้านอกสมัยประชุมหรืออยู่ระหว่างสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ก็ให้ประธานวุฒิสภามีอำนาจอนุญาตให้ขยายเวลาที่กำหนดไว้ได้ตามที่พิจารณาเห็นสมควรแล้วแจ้งให้วุฒิสภาทราบภายหลัง โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาไม่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการวิสามัญญัตติแต่ประการใด

------------------------------------------------

เอกสารแนบประกอบการพิจารณา


ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 10:50:53 ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 10:58:06 มีการเปิดอ่าน 2968 ครั้ง Share

 ถ่ายทอดสดการประชุม

  บุคคลากรภายใน 

  บุคคลภายนอก 

 


  






  
logo-clicksenate

จำนวนคนเข้าเยี่ยมชม
00128651

กำลังเยี่ยมชมขณะนี้
1 คน