ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... |
๑.ชื่อร่างพระราชบัญญัติ |
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....
|
๒.จำนวนมาตรา |
71 มาตรา |
๓.ประเภทร่างกฎหมาย |
ร่างพ.ร.บ.เกี่ยวดัวยการเงิน |
๔.วันที่/เดือน/ปี วุฒิสภารับร่างฯจากส.ผ. |
6 มกราคม 2568  |
๕.วันที่/เดือน/ปี รับร่างฯไว้พิจารณา |
13 มกราคม 2568  |
๖.วันที่/เดือน/ปี ครบกำหนด |
4 กุมภาพันธ์ 2568  |
๗.วันที่/เดือน/ปี ขยายเวลา/ครบกำหนด |
6 มีนาคม 2568  |
๘.วันที่/เดือน/ปี ครบกำหนดการแปรญัตติ |
22 มกราคม 2568  |
๙.วันที่/เดือน/ปี จะเสนอที่ประชุมในวาระที่สอง |
--  |
๑๐.ชื่อประธานคณะกรรมาธิการ |
นายธวัช สุระบาล |
๑๑.สถานะการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ/ สรุปประเด็นสาระสำคัญการแก้ไขเพิ่มเติมของคณะกรรมาธิการ/ ความเห็นเบื้องต้นต่อคำแปรญัตติ |
พิจารณาถึงร่างมาตรา พิจารณาครบทุกมาตรา โดยมีการแก้ไข สรุปประเด็นสาระสำคัญการแก้ไขเพิ่มเติมของคณะกรรมาธิการ ดังนี้ แก้ไขร่างมาตรา 14 เพื่อให้ถูกต้องตามรูปแบบการเขียนกฎหมาย และเพิ่มถ้อยคำ คำว่า ?สงขลา? เนื่องจากทะเลสาบที่มีจุดเชื่อมต่อกับทะเล
มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย คือ ทะเลสาบสงขลา
แก้ไขร่างมาตรา 18 การแก้ไข (3) และ (4) เนื่องจากการดำเนินการตามมาตรา 113 เป็นอำนาจของคณะกรรมการมาตรการทางปกครอง จึงปรับปรุงแก้ไขมาตรา 39 ให้สอดคล้องกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการมาตรการทางปกครอง
แก้ไขร่างมาตรา 25 ตัดข้อความในวรรคสองออก เนื่องจากการกำหนดบทบัญญัติในวรรคสองกรณีที่มีสัตว์น้ำตามวรรคหนึ่งติดเรือหรือเครื่องมือทำการประมงของผู้ใด ถ้าผู้นั้นปล่อยสัตว์น้ำดังกล่าวกลับสู่ธรรมชาติโดยเร็ว ผู้นั้นไม่มีความผิด อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา และเป็นมาตรการที่ยากแก่การจะควบคุม รวมทั้้งอาจไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า และส่งผลให้ประเทศคู่ค้าพิจารณาห้ามนำเข้าสินค้าประมงไทยได้
แก้ไขร่างมาตรา 28 ตัดข้อความในวรรคสองออก ออก เนื่องจากการอนุญาตให้ใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตรในเวลากลางคืน นอกเขต 12 ไมล์ทะเลนับจากแนวทะเลชายฝั่ง ประกอบการใช้แสงไฟล่อ เป็นการทำการประมงที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ ตัดตอนการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน และทำลายห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ ซึ่งมีผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลอันเป็นผลประโยชน์ของชาติ
แก้ไขร่างมาตรา 35 บทบัญญัติในมาตรา 114 (8) เป็นกรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71 (1) สามารถที่จะตีความได้ว่าต้องมีการกระทำความผิดได้ถึง 2 ครั้ง ภายในหนึ่งรอบการอนุญาตทำการประมง จึงจะถูกดำเนินการตามมาตรา 113 จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการกระทำความผิดเพิ่มมากขึ้น
ร่างมาตรา 70 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรองให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีผลโดยเร็ว จึงควรกำหนดระยะเวลาในการออกกฎกระทรวงหรือประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการทำการประมง
มีข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
จำนวน 10 ข้อ
|
๑๒.จำนวนมาตราที่ขอแก้ไข |
6 มาตรา |
๑๓.จำนวนมาตรา/ รายชื่อกรรมาธิการผู้สงวนความเห็น/ สรุปประเด็นสาระสำคัญของกรรมาธิการผู้สงวนความเห็น |
จำนวนมาตรา 7 มาตรา
รายชื่อกรรมาธิการผู้สงวนความเห็น นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย
นายประเทศ ซอรักษ์
นายปริญญา วงษ์เชิดขวัญ
นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
สงวนความเห็นร่างมาตรา ร่างมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา มาตรา 35 มาตรา 25 มาตรา 28 มาตรา 66 และมาตรา 70
|
๑๔.จำนวนมาตรา/ รายชื่อสมาชิกผู้เสนอคำแปรญัตติ/ สรุปประเด็นสาระสำคัญของผู้เสนอคำแปรญัตติ |
จำนวนมาตรา 14 มาตรา
รายชื่อสมาชิกผู้เสนอคำแปรญัตติ นางสาวรัชนีกร ทองทิพย์
นางอังคณา นีละไพจิตร
นางสาวนันทนา นันทวโรภาส
นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร
นางสาวมณีรัฐ เขมะวงค์
นายวีรยุทธ สร้อยทอง
นายพรชัย วิทยเลิศพันธุ์
เสนอคำแปรญัตติร่างมาตรา ร่างมาตรา 4 มาตรา 8 มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 32 มาตรา 34 มาตรา 37 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 48 มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 53
สรุปประเด็นสาระสำคัญของคำแปรญัตติ ดังนี้
ร่างมาตรา 4 แปรญัตติแก้ไขบทนิยาม คำว่า ?ทะเลชายฝั่ง?
ร่างมาตรา 8 แปรญัตติให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับโรงงานกลับมาใช้บังคับ
ร่างมาตรา 28 แปรญัตติให้มีการนำบทบัญญัติในร่างมาตรา 69 ของ พรบ ประมงฯ มาใช้บังคับ
ร่างมาตรา 32 แปรญัตติให้ตัดอำนาจอธิบดีออกในการอนุญาตการใช้เรือประมงขนถ่ายสัตว์น้ำ และตัดความในวรรคสองออก
ร่างมาตรา 34 แปรญัตติให้เพิ่มวรรคสี่ของมาตรา 112/1 เพื่อให้มีการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
ร่างมาตรา 37-53 แปรญัตติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษให้กลับไปใช้เช่นเดียวกับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และหากบทกำหนดโทษตามร่างพระราชบัญญัติสูงกว่าก็ให้ใช้บทกำหนดโทษตามร่างพระีราชบัญญัติฉบับนี้
|
๑๕.จำนวนมาตรา/ รายชื่อสมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติ/ สรุปประเด็นสาระสำคัญของผู้สงวนคำแปรญัตติ |
จำนวนมาตรา 11 มาตรา
รายชื่อผู้สงวนคำแปรญัตติ
นางสาวรัชนีกร ทองทิพย์
นางอังคณา นีละไพจิตร
นางสาวนันทนา นันทวโรภาส
นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร
นางสาวมณีรัฐ เขมะวงค์
นายวีรยุทธ สร้อยทอง
นายพรชัย วิทยเลิศพันธุ์
สงวนคำแปรญัตติร่างมาตรา 10
สรุปประเด็นสาระสำคัญของผู้สงวนคำแปรญัตติ ดังนี้ ร่างมาตรา 4 แปรญัตติแก้ไขบทนิยาม คำว่า ?ทะเลชายฝั่ง?
ร่างมาตรา 8 แปรญัตติให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับโรงงานกลับมาใช้บังคับ
ร่างมาตรา 32 แปรญัตติให้ตัดอำนาจอธิบดีออกในการอนุญาตการใช้เรือประมงขนถ่ายสัตว์น้ำ และตัดความในวรรคสองออก
ร่างมาตรา 34 แปรญัตติให้เพิ่มวรรคสี่ของมาตรา 112/1 เพื่อให้มีการกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
ร่างมาตรา 37 - 53 แปรญัตติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษให้กลับไปใช้เช่นเดียวกับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และหากบทกำหนดโทษตามร่างพระราชบัญญัตินี้สูงกว่าก็ให้ใช้บทกำหนดโทษตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
|
๑๖.สถานะปัจจุบัน |
วุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้ว
|
๑๗.บทวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ. |
|
ผู้ช่วยเลขานุการ/โทร. |
นายเทอดภูมิ งามธุระ โทร.9174
นางนันทิดา วัลลา แก้วสีปลาด โทร.9232 |
ข้อมูล ณ วันที่ |
03-03-2568 09:54 |