ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... |
๑.ชื่อร่างพระราชบัญญัติ |
ร่างพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
|
๒.จำนวนมาตรา |
11 มาตรา |
๓.ประเภทร่างกฎหมาย |
ร่างพ.ร.บ.ทั่วไป |
๔.วันที่/เดือน/ปี วุฒิสภารับร่างฯจากส.ผ. |
4 เมษายน 2568  |
๕.วันที่/เดือน/ปี รับร่างฯไว้พิจารณา |
9 เมษายน 2568  |
๖.วันที่/เดือน/ปี ครบกำหนด |
24 สิงหาคม 2568  |
๗.วันที่/เดือน/ปี ขยายเวลา/ครบกำหนด |
--  |
๘.วันที่/เดือน/ปี ครบกำหนดการแปรญัตติ |
23 เมษายน 2568  |
๙.วันที่/เดือน/ปี จะเสนอที่ประชุมในวาระที่สอง |
--  |
๑๐.ชื่อประธานคณะกรรมาธิการ |
พลตำรวจโท ยุทธนา ไทยภักดี |
๑๑.สถานะการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ/ สรุปประเด็นสาระสำคัญการแก้ไขเพิ่มเติมของคณะกรรมาธิการ/ ความเห็นเบื้องต้นต่อคำแปรญัตติ |
พิจารณาถึงร่างมาตรา คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการเสนอรายงานผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่อที่ประชุมวุฒิสภา สรุปประเด็นสาระสำคัญการแก้ไขเพิ่มเติมของคณะกรรมาธิการ ดังนี้ คณะกรรมาธิการได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๓ มาตรา ดังนี้
มาตรา ๓ แก้ไข (๒) ของมาตรา ๑๓
เนื่องจากความในมาตรา ๓ เป็นมาตราที่บอกถึงการแก้ไขความใน (๒)
ของมาตรา ๑๓ ซึ่งก่อนหน้าที่จะได้มีการเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้ ความใน (๒)
ของมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้เคยมีการแก้ไขครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
ดังนั้น ในการเขียนความในมาตรา ๓ จำเป็นจะต้องระบุข้อความที่แสดงให้เห็นถึงการแก้ไขครั้งล่าสุดไว้ให้ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบการตรากฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา ๔ แก้ไขมาตรา ๔๓
คณะกรรมาธิการวิสามัญ เห็นว่า เจตนารมณ์ของมาตรานี้เป็นการมุ่งที่จะคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งใช้ถ้อยคำว่า ?การให้มีสภาพใช้งานได้ตามปกติ?ยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ และอาจจะทำให้เกิดปัญหาการตีความกฎหมายและการใช้ดุลพินิจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรฐานในการบำรุงรักษาและคุณภาพของสาธารณูปโภคว่าจะต้องเป็นไปในลักษณะใด ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและลดความขัดแย้งในการตีความและการใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคพึงจะได้รับเป็นสำคัญ จึงควรระบุไว้ให้มีความชัดเจนว่า ?สภาพหรือความสมบูรณ์ ของสาธารณูปโภค จะต้องมีลักษณะหรือสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตามปกติ นั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดิมหรือเทียบเท่าตามชนิดหรือประเภทของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น
มาตรา ๗ แก้ไขมาตรา ๕๒
คณะกรรมาธิการวิสามัญ เห็นว่า ความในมาตรา ๕๒ ได้กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดิน ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้น หากผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งสาธารณูปโภคลดไปหรือเสื่อมความสะดวก หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผัง โครงการ หรือวิธีการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาต ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องดำเนินการหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อให้สาธารณูปโภคกลับมามีลักษณะหรือสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตามปกติ นั้น อย่างน้อยจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานเดิม
หรือเทียบเท่าตามชนิดหรือประเภทของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นจึงเห็นควรแก้ไขถ้อยคำในมาตรา ๕๒ ให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับกับความในมาตรา ๔๓ ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญได้
มีมติให้มีการแก้ไขแล้ว
ความเห็นเบื้องต้นต่อคำแปรญัตติ (ถ้ามี) คณะกรรมาธิการไม่เห็นด้วยกับผู้แปรญัตติ
ผู้แปรญัตติครบถ้วนแล้ว
มีข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
จำนวน ๒ ข้อ
|
๑๒.จำนวนมาตราที่ขอแก้ไข |
๓ มาตรา |
๑๓.จำนวนมาตรา/ รายชื่อกรรมาธิการผู้สงวนความเห็น/ สรุปประเด็นสาระสำคัญของกรรมาธิการผู้สงวนความเห็น |
|
๑๔.จำนวนมาตรา/ รายชื่อสมาชิกผู้เสนอคำแปรญัตติ/ สรุปประเด็นสาระสำคัญของผู้เสนอคำแปรญัตติ |
จำนวนมาตรา ๔ มาตรา มาตรา
รายชื่อสมาชิกผู้เสนอคำแปรญัตติ นางสาวรัชนีกร ทองทิพย์
เสนอคำแปรญัตติร่างมาตรา มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๗ และมาตราร ๙
สรุปประเด็นสาระสำคัญของคำแปรญัตติ ดังนี้
๑. ขอแก้ไข สาธารณูปโภคโดยเพิ่ม สระว่ายน้ำ สนามกีฬา รวมถึงงานระบบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ภายในโครงการ และกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินทีบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้มีสภาพการใช้งานได้ตามปกติ และเป็นไปตามมาตรฐานงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนด
๒. เสนอแก้ไขให้ผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้มีสภาพใช้งานได้ตามปกติ และเป็นไปตามมาตรฐานงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมาย จนกว่าจะมีการส่งมอบหน้าที่ไปยังนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือหน่วยงานที่รับโอน
๓. เสนอแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดระยะเวลาให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรการดำเนินการเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา
๔. กรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งการะจำยอมตามมาตรา ๕๒ ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผัง ให้ผู้จัดสรรที่ดินระงับการกระทำนั้นและบำรุงรักษาสาธารณูปโกคให้มีสภาพการใช้งานได้ตามปกติ และเป็นไปตามมาตรฐานงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนด
๕. เสนอแก้ไขอัตราโทษปรับให้สูงขึ้น ทั้งโทษปรับรายวัน และโทษปรับ
|
๑๕.จำนวนมาตรา/ รายชื่อสมาชิกผู้สงวนคำแปรญัตติ/ สรุปประเด็นสาระสำคัญของผู้สงวนคำแปรญัตติ |
จำนวนมาตรา ๔ มาตรา มาตรา
รายชื่อผู้สงวนคำแปรญัตติ
นางสาวรัชนีกร ทองทิพย์
สงวนคำแปรญัตติร่างมาตรา มาตรา ๔ มาตรา ๕ มาตรา ๗ และมาตรา ๙
สรุปประเด็นสาระสำคัญของผู้สงวนคำแปรญัตติ ดังนี้ ๑. ขอแก้ไข สาธารณูปโภคโดยเพิ่ม สระว่ายน้ำ สนามกีฬา รวมถึงงานระบบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ภายในโครงการ และกำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินทีบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้มีสภาพการใช้งานได้ตามปกติ และเป็นไปตามมาตรฐานงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนด
๒. เสนอแก้ไขให้ผู้จัดสรรที่ดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้มีสภาพใช้งานได้ตามปกติ และเป็นไปตามมาตรฐานงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมาย จนกว่าจะมีการส่งมอบหน้าที่ไปยังนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือหน่วยงานที่รับโอน
๓. เสนอแก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดระยะเวลาให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรการดำเนินการเพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการและดูแลบำรุงรักษา
๔. กรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งการะจำยอมตามมาตรา ๕๒ ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้ผิดไปจากแผนผัง ให้ผู้จัดสรรที่ดินระงับการกระทำนั้นและบำรุงรักษาสาธารณูปโกคให้มีสภาพการใช้งานได้ตามปกติ และเป็นไปตามมาตรฐานงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนด
๕. เสนอแก้ไขอัตราโทษปรับให้สูงขึ้น ทั้งโทษปรับรายวัน และโทษปรับ
|
๑๖.สถานะปัจจุบัน |
อยู่ระหว่างการพิจารณา
|
๑๗.บทวิเคราะห์ร่างพ.ร.บ. |
|
ผู้ช่วยเลขานุการ/โทร. |
1. นางสาวบุษยพรรณ ปักการะโน ผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ คนที่ 1
2. นางสาววรนันต์ มงคลนำสุวิทย์ ผู้ช่วยเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ คนที่ 2 |
ข้อมูล ณ วันที่ |
02-07-2568 15:45 |