ประมวลอำนาจหน้าที่
ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา

  

  


                                                     

 

 

  

 

                                                                                                                                                         กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องทุกข์
          สำนักงานประธานวุฒิสภา

 

  

 

 

 

Hexagon: ประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา
 


          

                      

 

 

 

ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภากำเนิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราช   อาณาจักรไทยพุทธศักราช  ๒๔๘๙   ที่กำหนดให้ใช้ระบบสองสภาเป็นครั้งแรก กล่าวคือให้รัฐสภาประกอบด้วยพฤฒสภาและสภาผู้แทนราษฎร  โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกพฤฒสภาตามมติของที่ประชุมพฤฒสภา  ให้เป็นประธานแห่งสภาคนหนึ่ง รองประธานคนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ อีกทั้งยังได้บัญญัติไว้ด้วยว่าประธานพฤฒสภามีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับการประชุมของพฤฒสภา  รองประธานมีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับต่อ มา   แม้ว่าได้เปลี่ยนชื่อ พฤฒสภาเป็นวุฒิสภา แต่ก็ยังคงบัญญัติเกี่ยวกับที่มาและอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาไว้ในทำนองเดียวกัน โดยรายละเอียดต่าง นอกจากที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วให้เป็นไปตามข้อบังคับของการประชุมวุฒิสภา

 

๑.    ที่มาของประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา

                        นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และรองประธาน  วุฒิสภา จะต้องเป็นสมาชิกวุฒิสภา  ซึ่งได้รับเลือกจากสมาชิกวุฒิสภาด้วยกันให้เป็นประธานวุฒิสภาคนหนึ่ง และรองประธานวุฒิสภาคนหนึ่งหรือสองคนหรือหลายคน ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้วแต่กรณี

                             .๑)  การเลือกประธานวุฒิสภา  ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ..๒๕๔๔  มีวิธีการเลือกประธานวุฒิสภา ดังนี้

                             ผู้มีสิทธิเสนอชื่อ  ในการเลือกประธานวุฒิสภา  สมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งคน

          ผู้รับรอง  การเสนอชื่อต้องมีสมาชิกวุฒิสภารับรองไม่น้อยกว่าสิบคน

          ในกรณีมีการเสนอชื่อเพียงชื่อเดียว  ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อเป็นผู้ได้รับเลือก

                             ในกรณีมีการเสนอชื่อสองชื่อหรือมากกว่าสองชื่อ  ให้มีการลงคะแนนโดยการเขียนชื่อผู้ซึ่งตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้  แล้วเรียกชื่อสมาชิกตามลำดับอักษรมาลงคะแนนเป็นรายคน  โดยนำซองใส่ลงในภาชนะที่จัดไว้เพื่อการนั้นในการตรวจนับคะแนนให้ประธานของที่ประชุมเชิญสมาชิกไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นกรรมการตรวจนับคะแนน

          กรณีมีการเสนอชื่อสองชื่อ  ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้าได้คะแนนสูงสุดเท่ากัน  ให้เลือกใหม่อีกครั้งหนึ่ง  แต่ถ้าคะแนนเท่ากันอีก  ให้ใช้วิธีจับสลาก

                              กรณีมีการเสนอชื่อมากกว่าสองชื่อ  ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดและมีคะแนน  ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุมเป็นผู้ได้รับเลือก  แต่ถ้าผู้ได้คะแนนสูงสุดมีคะแนนไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม  ให้นำชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรกหนึ่งคนและผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่สองหนึ่งคนมาให้สมาชิกลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่ง หรือ

                             -  ถ้ากรณีมีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรกเกินกว่าหนึ่งคน  ให้นำชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดดังกล่าวมาให้สมาชิกลงคะแนน หรือ

          -  ถ้ามีผู้ใดคะแนนสูงสุดลำดับแรกหนึ่งคน และมีผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่สองเกินกว่าหนึ่งคนให้นำชื่อผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับแรก  และลำดับที่สองทุกคนมาให้สมาชิกลงคะแนน  ในการนี้ ให้ผู้ได้คะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือก  แต่ถ้าคะแนนเท่ากัน  ให้ใช้วิธีจับสลาก

          ให้ประธานของที่ประชุมประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุมวุฒิสภา

.๒)  การเลือกรองประธานวุฒิสภา  เมื่อเลือกประธานวุฒิสภาเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จึงจะเลือกรองประธานวุฒิสภาด้วยวิธีการเดียวกันกับการเลือกประธานวุฒิสภาโดยอนุโลม  สำหรับจำนวนรองประธานวุฒิสภา  รัฐธรรมนูญปัจจุบันบัญญัติไว้เป็นหลักกว้าง ให้แต่ละสภามีรองประธานคนหนึ่งหรือสองคน  ตามมติของสภา  ซึ่งโดยทั่วไปวุฒิสภามักมีมติให้มีรองประธานสองคน

         ในกรณีที่สภากำหนดให้มีรองประธานวุฒิสภาสองคน  ให้เลือกรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งก่อนแล้วจึงเลือกรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง

 

.๓)  การแต่งตั้งประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา  เมื่อวุฒิสภาได้เลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาแล้ว ให้เลขาธิการวุฒิสภาแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์เพื่อทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

  

การพ้นจากตำแหน่งของประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา

                   .๑)  การพ้นจากตำแหน่งตามวาระ รัฐธรรมนูญมิได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานวุฒิสภาไว้อย่างชัดเจน  เพียงแต่กำหนดไว้ว่าประธานและรองประธานวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันเลือกประธานคนใหม่เท่านั้น[๑] 

.๒)  การพ้นจากตำแหน่งในกรณีอื่น  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ดังกล่าวมาแล้วประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภาย่อมพ้นจากตำแหน่ง  ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑)  ขาดจากสมาชิกภาพแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก

          (๒)  ลาออกจากตำแหน่ง

          (๓)  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  หรือข้าราชการการเมืองอื่น

          (๔)  ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

อำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา

ประธานวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ      ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และกฎหมายอื่น

รองประธานวุฒิสภา มีอำนาจและหน้าที่ช่วยประธานวุฒิสภาในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย

          เมื่อประธานวุฒิสภาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ในกรณีที่มีรองประธานวุฒิสภาสองคน รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา  ถ้ารองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง จะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา

          รัฐธรรมนูญได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาไว้เป็นการทั่ว ไปว่าให้ประธานวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของวุฒิสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับ  อีกทั้งให้มีบทบาทหรืออำนาจหน้าที่อื่นๆ บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเรื่องอีกหลายประการ  ดังนี้

 

Hexagon: อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
 

 

 

 


 

.  เป็นผู้นำความกราบบังคมทูลและเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในกรณีดังต่อไปนี้

 

.)  การแต่งตั้งประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้ง

     มาตรา ๑๓๖  คณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง  

มาตรา ๑๓๘  การสรรหา  และการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการดังนี้

(๑)  ...ฯลฯ...

(๒)  ...ฯลฯ...

(๓)  ...ฯลฯ...

(๔)  ...ฯลฯ...

(๕)  ให้ผู้ได้รับเลือกตาม (๔)  ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็น

ประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ  และให้ประธานวุฒิสภา     นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

 

.)  การแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

มาตรา ๑๙๖  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนไม่เกินสามคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา  จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน  มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน  วิสาหกิจ  หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ  และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

                   ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง[๒] ผู้ตรวจการ     แผ่นดินของรัฐสภา

                   คุณสมบัติ  ลักษณะต้องห้าม  การสรรหา  และการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา[๓]

                   ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหา-กษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

 

.)  การแต่งตั้งประธานกรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติ  และกรรมการสิทธิ-

มนุษยชนแห่งชาติ

มาตรา ๑๙๙  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์  ทั้งนี้  โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

 

          ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                   คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา การเลือก การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

                   ๑.๔)  การแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

                   มาตรา ๒๕๕ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้

                   (๑)  ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนห้าคน

                   (๒)  ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน

                   (๓)  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๒๕๗ จำนวนห้าคน

                    (๔)  ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา ๒๕๗ จำนวนสามคน

                        ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง  ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ

                        ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  แต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

.๕) การแต่งตั้งประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

                   มาตรา ๒๙๗ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา

          (วรรคสอง).........................ฯลฯ....................................

          (วรรคสาม).........................ฯลฯ.....................................

                   ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

          .๖) การแต่งตั้งประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

          มาตรา ๓๑๒ การตรวจเงินแผ่นดิน ให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง

                   คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกเก้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายในการเงินการคลัง และด้านอื่น

          คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระ โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

                    พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายในการเงินการคลังหรือด้านอื่น

ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

 

กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหาและการเลือก และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

 

การกำหนดคุณสมบัติและวิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ

ตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อให้ให้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม  และมีความซื่อสัตย์สุจริต และเพื่อให้ได้หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคล ดังกล่าว

๒. เรียกประชุมวุฒิสภา  เพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งต่างๆตามรัฐธรรมนูญ  และหากกรณีมีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้รับได้เลือกเกินจำนวนที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก

๒.๑) กรรมการการเลือกตั้ง

                   มาตรา  ๑๓๘  การสรรหา  และการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งให้ดำเนินการดังนี้

          (๑)  ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนสิบคน  ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด  อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคน  ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  ทำหน้าที่พิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตาม  มาตรา  ๑๓๗  ซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน  เสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น  มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

(๒)  ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน  เสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น

 

(๓)  การเสนอชื่อตาม  (๑)  และ  (๒)  ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว  ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาตาม  (๑)  ไม่อาจเสนอชื่อได้ภายในเวลาที่กำหนด  หรือไม่อาจเสนอชื่อได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนด  ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาเสนอชื่อแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดต้องเสนอชื่อตาม (๑)

(๔)  ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภา  เพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม  (๑)  (๒)  และ  (๓)  ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ  ในการนี้  ให้ห้าคนแรกซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา  เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้ง  แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวมีไม่ครบห้าคน  ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป   และในกรณีนี้  ให้ถือว่าผู้ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบห้าคน  เป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการการเลือกตั้ง  ในครั้งนี้  ถ้ามีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากัน  ในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคน  ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก

(๕)  ให้ผู้ได้รับเลือกตาม  (๔)  ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง  และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบและให้ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

 

๒.๒) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

                   มาตรา  ๒๕๗  การสรรหาและการเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา  ๒๕๕  (๓)  และ  (๔)  ให้ดำเนินการดังนี้

(๑)  ให้มีคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะหนึ่ง  ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา  คณบดีคณะนิติศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน    คณบดีคณะรัฐศาสตร์หรือเทียบเท่าของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่ง   ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  พรรคละหนึ่งคน   ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือสี่คนเป็นกรรมการ  คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา  ๒๕๕ (๓)  จำนวนสิบคนและผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  (๔)  จำนวนหกคน  เสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว  มติในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่  ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

                   (๒) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภา  เพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อในบัญชีตาม (๑)  ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ  ในการนี้ให้ห้าคนแรกในบัญชีรายชื่อ

 

 

ผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตร  ๒๕๕  (๓)  และสามคนแรกในบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  (๔)  ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา  เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  แต่ถ้าจำนวนผู้ได้รับเลือกดังกล่าวจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  (๓)  มีไม่ครบถ้วน  หรือจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา  ๒๕๕  (๔)  มีไม่ครบสามคน  ให้นำรายชื่อผู้ไม่ได้รับเลือกในคราวแรกในบัญชีนั้นมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องกันไป  และในกรณีนี้ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนเป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใด  อันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินห้าคนหรือสามคนแล้วแต่กรณี  ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๕๕  วรรคสองและวรรคสาม  มาใช้บังคับ

 

                   ๒.๓) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

          มาตรา  ๒๙๗ ...............................ฯลฯ...................................

                   กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์  มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  ๒๕๖

                   การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๒๕๗๑๐  และมาตรา  ๒๕๘  มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้  โดยให้คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวนสิบห้าคน  ประกอบด้วย  ประธานศาลฎีกา  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประกอบศาลปกครองสูงสุด  อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นที่นิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือเจ็ดคน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสภาผู้แทนราษฎร  พรรคละหนึ่งคน  ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน  เป็นกรรมการ

          (วรรคสาม).............................ฯลฯ............................................

 

. เป็นผู้ส่งคำร้องหรือความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยกรณีต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ

          .๑)  ส่งคำร้องเพื่อให้วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่ง   สิ้นสุดลงหรือไม่

 

มาตรา  ๙๖  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้น สิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๑(๘) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๓๓ (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๙) หรือ (๑๐) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องตามวรรคหนึ่ง

          .๒)  ส่งคำร้องเพื่อให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งสิ้นสุดลงหรือไม่

มาตรา ๒๑๖  ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ

          (๑)  ตาย

          (๒)  ลาออก

          (๓)  ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๖

          (๔)  ต้องคำพิพากษาให้จำคุก

          (๕)  สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา ๑๘๕ หรือมาตรา ๑๘๖

          (๖)  กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๐๘ หรือมาตรา ๒๐๙

          (๗)  มีพระบรมราชโองการตามมาตรา ๒๑๗

          (๘)  วุฒิสภามีมติตามมาตรา ๓๐๗ ให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง

          ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๖ และมาตรา ๙๗ มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรีตาม (๒) (๓) (๔) หรือ (๖)

          .๓) ส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไปให้วินิจฉัยว่ามีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้ หรือไม่

          มาตรา ๑๗๗ ในระหว่างที่มีการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดตามมาตรา ๑๗๕ คณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้มิได้

          ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอหรือส่งให้พิจารณานั้น   เป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง

 

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีหลักการอย่างเดียวกันหรือคล้ายกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา ส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย    ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่มีหลักการคล้ายกันกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้ ให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

๓.๔) ส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาที่เข้าชื่อกันจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เพื่อให้วินิจฉัยว่าการตราพระราชกำหนด เป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือไม่

                   มาตรา ๒๑๙ ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาจะได้อนุมัติพระราชกำหนดใดตามมาตรา ๒๑๘ วรรคสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภามี สิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าพระราชกำหนดนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

                   เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ส่งความเห็นนั้นมา

                   เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภาได้รับความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้รอการพิจารราพระราชกำหนดไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง

                   ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๑๘ วรรคหนึ่ง ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น

                   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าพระราชกำหนดใดไม่เป็นไปตามมาตรา ๒๑๘  

วรรคหนึ่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด

 

                   .๕) ส่งความเห็นสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า  ๑ ใน ๑๐ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ หรือจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คนเพื่อให้วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด แล้วแต่กรณี ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หรือไม่

 

 

                    มาตรา ๒๖๒  ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติหรือ  ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา ๙๓  หรือร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา ๙๔  ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง

                   (๑)  หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา  แล้วแต่กรณี  แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว  ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

                   (๒) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน  มีจำนวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน  เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้    ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ  เพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า

                   (๓) หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตาม        บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย  และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา  ทราบโดยไม่ชักช้า

                   ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย  ให้นายกรัฐมนตรีระงับการ     ดำเนินการเพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

                   ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป

  

                   ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ  รัฐธรรมนูญนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้   แต่มิใช่กรณีตามวรรคสาม  ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป  และให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา  ๙๓  หรือมาตรา  ๙๔   แล้วแต่กรณีต่อไป

                   .๖)  ส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า  ๒๐ คนเพื่อให้วินิจฉัยว่าร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ  หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่

                   มาตรา  ๒๖๓  บทบัญญัติมาตรา  ๒๖๒  (๒)  ให้นำมาใช้บังคับกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร   ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา   และร่างข้อบังคับการประชุม     รัฐสภาที่สภาผู้แทนราษฎร  วุฒิสภา  หรือรัฐสภาแล้วแต่กรณี  ให้ความเห็นชอบแล้ว  แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยโดยอนุโลม

๔.     ดำเนินกิจการวุฒิสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับ๑๑

          มาตรา  ๑๕๓  ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการของสภานั้นๆ  ให้เป็นไปตามข้อบังคับ  รองประธานมีอำนาจหน้าที่ตามที่ประธาน มอบหมายและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

...ฯลฯ...

๕.  จัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกวุฒิสภาแต่ละคนโดยเปิดเผย  เว้นแต่กรณีการออกเสียงลงคะแนนลับ

                   มาตรา  ๑๕๖  การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษาให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ  เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้

                   สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน  ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

                   ประธานรัฐสภา  ประธานสภาผู้แทนราษฎร  และประธานวุฒิสภา  ต้องจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน  และเปิดเผยบันทึกดังกล่าวไว้ในที่ที่ประชาชน   อาจเข้าไปตรวจสอบได้  เว้นแต่กรณีการออกเสียงคะแนนเป็นการลับ

                   การออกเสียงลงคะนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใด  ให้กระทำเป็นการลับ  เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้  และสมาชิกย่อมมีอิสระและไม่ถูกผูกพันโดยมติของพรรคการเมืองหรืออาณัติอื่นใด

๖.  จัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจง  ในกรณีมีการกล่าวถ้อยคำใดในที่ประชุมวุฒิสภาอันอาจเป็นเหตุให้มีบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกวุฒิสภาได้รับความเสียหายและบุคคลนั้น ได้  ร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา

                   มาตรา  ๑๕๗  ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมวุฒิสภา หรือที่ประชุม ร่วมกันของรัฐสภา  สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใดในทางแถลงข้อเท็จจริง  แสดงความคิดเห็น  หรือออกเสียงลงคะแนนย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด  ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้น

ในทางใดมิได้

                   เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการ   ถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์  หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภา  และการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น  ซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้น     

                   ในกรณีตามวรรคสอง  ถ้าสมาชิกกล่าวถ้อยคำใดที่อาจเป็นเหตุให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกแห่งสภานั้นได้รับความเสียหาย  ให้ประธานแห่งสภานั้นจัดให้มีการโฆษณา คำชี้แจงตามที่บุคคลนั้นร้องขอตามวิธีการและภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อบังคับการประชุมของสภานั้น  ทั้งนี้  โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลในการฟ้องร้องคดีต่อศาล

๗.  สั่งปล่อยสมาชิกวุฒิสภาผู้ถูกจับในขณะกระทำผิดในระหว่างสมัยประชุมได้

มาตรา  ๑๖๕  ในระหว่างสมัยประชุม  ห้ามมิให้จับ  คุมขัง  หรือหมายเรียกตัว

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา  เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก  หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด

                   ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  ในขณะกระทำความผิด  ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน  และประธานแห่งสภาที่ ผู้นั้นเป็นสมาชิก  อาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้

                  

๘. ร้องขอให้ปล่อยสมาชิกวุฒิสภาที่ถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม  เมื่อถึงสมัยประชุม

                   มาตรา  ๑๖๗  ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  ถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาอยู่ก่อนสมัยประชุม  เมื่อถึงสมัยประชุม  พนักงานสอบสวนหรือศาล  แล้วแต่กรณี  ต้องสั่งปล่อยทันทีถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ

                   คำสั่งปล่อยตามวรรคหนึ่งให้มีผลบังคับตั้งแต่วันสั่งปล่อยจนถึงวันสุดท้ายแห่งสมัยประชุม

๙.  อาจได้รับการขอปรึกษาจากนายกรัฐมนตรีเพื่อประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ

                   มาตรา  ๒๑๔  ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้

                   ....ฯลฯ....

๑๐.  รับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า  ๑  ใน  ๔  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่  เพื่อขอให้วุฒิสภามีมติให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่ง

          มาตรา  ๒๙๙  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน

สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใด กระทำการขาดความเที่ยงธรรม  จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย  หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง  และขอให้วุฒิสภามีมติให้พ้นจากตำแหน่งได้

          มติของวุฒิสภาให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ พ้นจาก

ตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง  ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

๑๑.  รับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภา      มีจำนวนไม่น้อยกว่า  ๑  ใน  ๔  ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา  เพื่อส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ  กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

                        มาตรา  ๓๐๐  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  หรือสมาชิกของทั้งสองสภา  มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา มีสิทธิเข้าชื่อ    ร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่  หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

                  

                   คำร้องขอตามวรรคหนึ่ง  ต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นข้อ ๆ  ให้ชัดเจน และให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา  เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา

                   กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ถูกกล่าวหา  จะปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นมิได้   จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ยกคำร้องดังกล่าว

 

๑๒. รับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิก   ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่  หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐  คน  ซึ่งเข้าชื่อกัน   ขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา  ๓๐๓  ออกจากตำแหน่ง

                   มาตรา  ๓๐๔  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ห้าหมื่นคน  มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา  เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา  ๓๐๓  ออกจากตำแหน่งได้  คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติการณ์     ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อ ๆ  ให้ชัดเจน

                                         

                                             (วรรคสอง)..........................ฯลฯ..............................................................

                   หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขในการที่ประชาชนจะเข้าชื่อร้องขอตามวรรคหนึ่ง  ให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

๑๓. รับคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา  จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่เข้าชื่อกันขอให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่ง

                   มาตรา ๓๐๔  (วรรคหนึ่ง) ....................ฯลฯ.............................................

สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา  เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา  ๓๐๗  ให้     ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้

(วรรคสาม)............................ฯลฯ..........................................................

 

  

๑๔.  ส่งเรื่องให้คณะกรรมาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน  เนื่องจากได้มีการเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา  เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๓๐๓   ออกจากตำแหน่ง

                   มาตรา ๓๐๕  เมื่อได้รับคำร้องขอตามมาตรา ๓๐๔ แล้ว ให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว

                             ...ฯลฯ...

๑๕.  รับรายงานไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  และจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว  นอกจากนี้  หากอยู่นอกสมัยประชุมให้แจ้งประธานรัฐสภาเพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ  เพื่อทรงเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ

                   มาตรา  ๓๐๖  เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา  ๓๐๕  แล้ว  ให้ประธานวุฒิสภา   จัดให้มีการประชุมวุฒิสภา  เพื่อพิจารณากรณีดังกล่าวโดยเร็ว

                   ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  ส่งรายงานให้นอกสมัยประชุม  ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ  เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ  และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

 

 

Hexagon: อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
 

  

 

 

 

 


 

๑. พระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการของรัฐสภา  พ.ศ. ๒๕๑๘

เป็นผู้บังคับบัญชาของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา  โดยมีบทกฎหมายที่

เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภา ดังนี้

มาตรา  ๘  สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำ

ทั่วไปของวุฒิสภา  มีเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการขึ้นต่อประธานวุฒิสภา .... ฯลฯ ....

 

                   มาตรา  ๒๒  บรรดาอำนาจในการสั่งการ  การอนุญาต  การอนุมัติหรือการปฏิบัติราชการตามที่กฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือคำสั่งใด  กำหนดว่าเป็นอำนาจของ  ....ฯลฯ....  รัฐมนตรีเจ้าสังกัด  ให้เป็นอำนาจของประธานวุฒิสภาสำหรับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 

....ฯลฯ....

๒.  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา  พ.ศ. ๒๕๓๕

                   ๒.๑)  เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุข้าราชการรัฐสภาสามัญระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑ และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง

                   มาตรา  ๒๘  การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง

                   (๑)  การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ  ๑๐  และระดับ  ๑๑  ให้ประธานรัฐสภา  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี  ด้วยความ    เห็นชอบของ ก.ร.  เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง

                                 ....ฯลฯ....

                   ๒.๒)  เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญระดับ ๙

                   มาตรา  ๒๘  การบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ให้ผู้มีอำนาจดังต่อไปนี้เป็นผู้สั่งบรรจุและแต่งตั้ง

                   (๑) ..........................ฯลฯ...............................................

() การบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ๙  ให้ประธานรัฐสภา  ประธาน- วุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง                                                (๓) ..................................ฯลฯ......................................

                   ๒.๓) เป็นผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญระดับ ๙ ระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑

                   มาตรา  ๓๖ ...................................ฯลฯ..............................................

                   (วรรคสอง) ....................................ฯลฯ.............................................

การเลื่อนขึ้นเงินเดือนข้าราชการรัฐสภาสามัญ  ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  แล้วแต่กรณี  เป็นผู้พิจารณาสั่งเลื่อน

๒.๔) เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ(ระดับ๙ ระดับ ๑๐ และระดับ ๑๑) ซึ่งออกจากราชการภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย กลับเข้ารับราชการสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

 

                   มาตรา  ๔๑  ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด  ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร  เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยไม่มีความเสียหาย  แล้วประสงค์จะเข้ารับราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิมภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันพ้นจากราชการทหาร  ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา  ๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้ง ....ฯลฯ....

                   มาตรา  ๔๑  ทวิ  ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดได้รับอนุมัติจาก  ก.ร.  ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานใด  ๆ  ซึ่งให้นับระยะเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถ้าผู้นั้นกลับเข้ารับราชการภายในกำหนดเวลาสี่ปีนับแต่วันออกจากราชการไปปฏิบัติงานดังกล่าวให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา  ๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้ง  ....ฯลฯ....

                   มาตรา  ๔๒  ข้าราชการรัฐสภาสามัญลาออกจากราชการเพื่อสมัครรับเลือกตั้งประสงค์จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญในส่วนราชการสังกัดรัฐสภาตามเดิม  ถ้าข้าราชการ ผู้นั้นได้แสดงความจำนงไว้ในขณะลาออกว่าจะกลับเข้ามารับราชการและระยะเวลาที่ออกจากราชการไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา  ๒๘ สั่งบรรจุและแต่งตั้ง  ....ฯลฯ....

                  

                   ๒.๕)  เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการัฐสภาฝ่ายการเมือง  และสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

                   มาตรา  ๖๑  ตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองมีดังนี้

                   (๑)  ....ฯลฯ...

                   (๒)  ...ฯลฯ...

                   (๓)  ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา

                   (๔)  ...ฯลฯ...

(๕)  ที่ปรึกษารองประธานวุฒิสภา

                   (๖)  ...ฯลฯ...

                   (๗)  ...ฯลฯ...

                   (๘)  ...ฯลฯ...

                   (๙)  เลขานุการประธานวุฒิสภา

                   (๑๐)  ...ฯลฯ...

                   (๑๑)  เลขานุการรองประธานวุฒิสภา

                   (๑๒)  ...ฯลฯ...

                   (๑๓)  ...ฯลฯ...

....ฯลฯ ....

 

                   มาตรา  ๖๓  การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามมาตรา  ๖๑ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖)  ให้ประธานรัฐสภา  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควร  ตามเหตุผลในทางการเมือง  ....ฯลฯ....

                   การแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายการเมืองตามมาตรา  ๖๑  (๗) (๘) (๙) (๑๐) (๑๑) (๑๒) และ (๑๓) ให้ประธานรัฐสภา  ประธานวุฒิสภา  หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณี  แต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควร  ตามเหตุผลในทางการเมือง  ....ฯลฯ....

                   มาตรา ๖๔  ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองออกจากตำแหน่งเมื่อ

(๑)  ฯลฯ

(๒)  ฯลฯ

                   (๓)  สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา  ๖๑  ...(๓)...(๕) 

ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง  ....ฯลฯ....

(๔)  สำหรับข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามมาตรา  ๖๑  ...(๙)....(๑๑) 

ผู้แต่งตั้งสั่งให้พ้นจากตำแหน่งจะโดยมีความผิดหรือไม่มีความผิดก็ตาม หรือประธานหรือรองประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นสังกัด หรือผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณี

 

                   ๒.๖)  เป็นผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ข้าราชการัฐสภาสามัญตั้งแต่ระดับ  ๙  ขึ้นไปออกจากราชการ

                   มาตรา  ๔๕  ข้าราชการรัฐสามัญผู้ใด  ประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง  เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘ เป็น      ผู้พิจารณา  เมื่อผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  สั่งอนุญาตแล้วจึงให้ออกจากราชการตามคำสั่ง

                   ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญขอลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อ

สมัครรับเลือกตั้งให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ยื่นใบลาออกต่อผู้บังคับบัญชา

                   ในกรณีที่ผู้ขอลาออกมีเรื่องถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย  หรือต้องหาว่ากระทำผิดอาญา  ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตลาออกจะสั่งอนุญาตให้ลาออกก็ได้  โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อสอบสวนพิจารณาแล้วได้ความว่าได้รับอนุญาตให้ลาออกกระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการสั่งลงโทษ  หรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ตรงตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้  การลาออกในกรณีนี้ยังไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ

                   ๒.๗)  เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญ  ตั้งแต่ระดับ  ๙  ขึ้นไป  ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้

มาตรา  ๔๖  ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ แต่

ในการสั่งให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน นอกจากให้ทำได้ในกรณีที่ระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ให้ทำได้ในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ

() เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดยสม่ำเสมอ ถ้าผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการแล้ว ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้

() เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ

() เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก..

() เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๔ () () หรือ () ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ

() เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา ๒๘ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ

                   มาตรา  ๔๖  ทวิ  ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหา  หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ  บกพร่องในหน้าที่ราชการ  หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ  และผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  เห็นว่ากรณีมีมูล  ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ....ฯลฯ....  เมื่อได้มีการสอบสวนพิจารณาแล้วและผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเห็นสมควรให้ออกจากราชการ  ก็สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้ ....ฯลฯ....

                   มาตรา  ๔๖  ตรี  ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา  ๕๓  และการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว  ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง  แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา  ๕๓  ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ  ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองให้กรณีที่ถูกสอบสวนเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้

                   มาตรา  ๔๖  จัตวา  เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท  หรือความผิดลหุโทษซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก  ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  จะสั่งให้ผู้นั้นออกจาก    ราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญทดแทนก็ได้

                  

                   ๒.๘)  เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตั้งแต่ระดับ  ๙  ขึ้นไป

                   มาตรา  ๕๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดถูกกล่าวหา  หรือกรณีเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ  ก.ร.  ให้ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยไม่ชักช้า ....ฯลฯ....  เมื่อได้มีการสอบสวนแล้วและผู้บังคับบัญชา       ดังกล่าวพิจารณาเห็นว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่กำหนดในกฎ  ก.ร.  ก็ให้สั่งปลดออก  หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี  ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนำมาประกอบการพิจารณาลดโทษให้ก็ได้  แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก  ผู้ถูกสั่งปลดออกตามมาตรานี้  ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออกจากราชการ

....ฯลฯ....

                   มาตรา ๕๔  ข้าราชการสามัญผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่าร้ายแรง  และเป็นกรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งตามที่กำหนดในกฎ  ก.ร.  หรือได้ให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับ

บัญชา  หรือต่อผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้สอบสวน  หรือต่อคณะกรรมการสอบสวน  ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  จะสั่งลงโทษโดยไม่สอบสวนต่อไปก็ได้

                   มาตรา  ๕๘  เมื่อผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปแล้ว  ให้ส่งรายงานการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นต่อผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นตามลำดับจนถึงประธานรัฐสภา  และให้ประธานรัฐสภารายงานต่อ ก.ร.

                   ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นซึ่งมีตำแหน่งเหนือผู้สั่งตามวรรคหนึ่ง  เห็นว่าการลงโทษหรือการดำเนินการทางวินัยนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม  ก็ให้

ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษ  เพิ่มโทษ  ลดโทษ  หรือยกโทษ  ตามควรแก่กรณีได้  แต่ถ้าจะลงโทษหรือเพิ่มโทษแล้ว  โทษที่ลงหรือเพิ่มขึ้นรวมกับที่สั่งไว้แล้วเดิมต้องไม่เกินอำนาจของผู้ซึ่งสั่งใหม่นั้น

 

 

                   ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงโทษหรือดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดแล้วแต่ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘  แล้วแต่กรณีเห็นว่ากรณีเป็นการกระทำผิดวินัย

อย่างร้ายแรง  ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจดำเนินการตามมาตรา  ๕๓  ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา  ๕๓  ถ้าจะต้องสอบสวนตามมาตรา  ๕๓  ก่อน  ก็ให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนตามมาตรา  ๕๓  ในกรณีที่จะต้องลงโทษตามมาตรา  ๕๓  ถ้ามีการตัดเงินเดือนไปแล้ว  ก็ให้เป็นอันพับไป

                  

                      ๒.๙)  เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญตั้งแต่ระดับ  ๙  ขึ้นไปพักราชการ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน  หรือสั่งให้กลับเข้ารับราชการ

                   มาตรา  ๕๗  ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด  มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวน  หรือถูกฟ้องคดีอาญา  หรือต้องหาว่ากระทำผิดความอาญา  เว้นแต่เป็นความผิดโดยประมาท  หรือความผิดลหุโทษ  ผู้บังคับบัญชาตามมาตรา  ๒๘ มีอำนาจสั่ง    พักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน  เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้  แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมิได้กระทำผิด  หรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก  และไม่มีกรณีที่จะออกจากราชการด้วยเหตุอื่นให้ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งในระดับเดียวกัน  ....ฯลฯ....

         

 

๓.  พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  พ.ศ. ๒๕๔๒

                   ๓.๑) เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประธานกรรมการและกรรมการ ป.ป.ช.๑๒

                   มาตรา  ๗  ............ฯลฯ...............

                   (วรรคสอง).............ฯลฯ..............

                   ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ

 

๓.๒) เป็นผู้จัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการป.ป.ช. รับบัญชีรายชื่อและเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ๑๓

 

มาตรา  ๗ การสรรหาและการเลือกกรรมการให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

                   (๑)   ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการจำนวนสิบห้าคนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด  อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือเจ็ดคน  ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ

ห้าคน  และให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน      สิบแปดคนเสนอต่อประธานวุฒิสภา  โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น  ทั้งนี้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว  มติในการเสนอชื่อต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

                   (๒)  ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อในบัญชีตาม  (๑)  ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ  ในการนี้ให้บุคคลซึ่งได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ  แต่ถ้าผู้ได้รับเลือกที่ได้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีจำนวนไม่ครบเก้าคน  ให้นำรายชื่อของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อที่เหลืออยู่ทั้งหมดมาให้สมาชิกวุฒิสภาออกเสียงลงคะแนนเลือกอีกครั้งหนึ่งต่อกันไป  และในกรณีนี้ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับจนครบจำนวนเป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการ  ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินเก้าคน  ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก

                   (วรรคสอง)..................ฯลฯ..........................................

                   (วรรคสาม)...................ฯลฯ..........................................

                   ๓.๓)  เป็นผู้รับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน  ลงลายมือชื่อกำกับในบัญชีฯ รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว  ของกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

                   มาตรา  ๑๕  ให้กรรมการมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตนคู่สมรส  และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ต่อประธานวุฒิสภาเมื่อเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง  และให้นำบทบัญญัติมาตรา  ๓๒  มาตรา  ๓๓  มาตรา  ๓๕  วรรคหนึ่งและวรรคสาม  มาตร  ๔๑  และมาตรา  ๑๑๙  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   มาตรา  ๓๕  เมื่อได้รับบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามมาตรา  ๓๓  แล้ว  ให้ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งประธานกรรมการมอบหมายลงลายมือชื่อกำกับไว้ในบัญชีทุกหน้า

                   ....ฯลฯ....

 

                   ให้ประธานกรรมการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ  ป.ป.ช.  เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าวโดยเร็ว

๓.๔)  เป็นผู้รับคำร้องกรณีมีการเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาซึ่งดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่ง

มาตรา ๕๙  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่งได้

สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้

๓.๕) เป็นผู้รับการแสดงตนของผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อ กรณีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่ง

มาตรา ๖๐  กรณีประชาชนร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่งต้องมีผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อจำนวนไม่เกินหนึ่งร้อยคนเพื่อดำเนินการจัดทำคำร้องและรับรองลายมือชื่อของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน

ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อและผู้เข้าชื่อต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อต้องไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาก่อนเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอ

๓.๖)  เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่ง หากเห็นว่าคำร้องขอไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ร้องขอหรือผู้ริเริ่มทราบเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป

มาตรา ๖๓  เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องขอแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่าคำร้องขอถูกต้องและครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

 

และตามมาตรา ๖๑ หรือมาตรา ๖๒ หรือไม่ ...ฯลฯ...หากเห็นว่าคำร้องขอไม่ถูกต้องหรือ           ไม่ครบถ้วน ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ผู้ร้องขอหรือผู้ริเริ่มทราบเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป                                                                            

ให้ผู้ร้องขอหรือผู้ริเริ่มดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับ

แต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานวุฒิสภา

มาตรา ๖๑  การร้องขอให้ถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา ๕๙ และมาตรา ๖๐ ต้องทำเป็นหนังสือระบุชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ และลงลายมือชื่อของผู้ร้องขอ โดยระบุวัน เดือน ปี ที่ลงลายมือชื่อให้ชัดเจน และต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ เป็นข้อ ๆ อย่างชัดเจนว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด และต้องระบุพยานหลักฐานหรือเบาะแสตามสมควรและเพียงพอ ที่คณะกรรมการ ป... จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ และให้ยื่นคำร้องขอดังกล่าวต่อประธานวุฒิสภาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภา

มาตรา ๖๒ ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่ง  หรือในกรณีที่สมาชิกวุฒิสภาร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งให้นำบทบัญญัติมาตรา ๖๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

๓.๗) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ      เพื่อไต่สวนข้อเท็จจริง

มาตรา ๖๓  เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องขอแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่าคำร้องขอถูกต้องและครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และตามมาตรา ๖๑ หรือมาตรา ๖๒ หรือไม่ หากเห็นว่าถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อดำเนินการตามหมวด ๔  การไต่สวนข้อเท็จจริง    โดยเร็ว...ฯลฯ...                                                                                                                                     ๓.๘) เป็นผู้รับรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป.ป.ช.

มาตรา ๔๕  เมื่อคณะกรรมการป...ได้มีมติตามมาตรา ๕๓ แล้วถ้าข้อกล่าวหานั้นเป็นเรื่องที่ประธานวุฒิสภาส่งมาตามมาตรา ๔๓ () หรือผู้เสียหายยื่นคำร้องเพื่อดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา ๔๓

 

- ๒๗ -                                                                                 

 

 

() ให้ประธานกรรมการส่งรายงานไปยังประธานวุฒิสภาหรือแจ้งไปยังผู้เสียหายแล้วแต่กรณี โดยเร็ว

....ฯลฯ....

มาตรา ๕๖  ในกรณีที่คณะกรรมการ ป... มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูล ให้ประธานกรรมการส่งรายการตามมาตรา ๕๔ วรรคสอง และเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยัง

() ประธานวุฒิสภา ถ้าข้อกล่าวหานั้นเป็นเรื่องที่ประธานวุฒิสภาส่งมาตามมาตรา ๔๓ () หรือเรื่องที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอตามมาตรา ๔๓ ()

() .............................................ฯลฯ.............................................

()...............................................ฯลฯ.............................................

() ...............................................ฯลฯ.............................................

 

๓.๙) จัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณามีมติ กรณีคณะกรรมการ ป... มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล

มาตรา ๖๔  เมื่อคณะกรรมการ ป... มีมติว่าข้อกล่าวหาที่มาจากการเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาออกจากตำแหน่งมีมูล และได้รายงานไปยังประธานวุฒิสภาตามมาตรา ๕๖ () แล้ว ให้ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณามีมติโดยเร็ว

ในกรณีที่คณะกรรมการ ป... ส่งรายงานให้นอกสมัยประชุม ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณากรณีดังกล่าว และให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

 

 ๓.๑๐) เป็นผู้แจ้งมติของวุฒิสภา กรณีมีมติให้ถอดถอนผู้ถูกกล่าวหาซึ่งดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๕๘ ออกจากตำแหน่ง ไปยังผู้เกี่ยวข้อง

มาตรา ๖๕  สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนน ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติที่ให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งให้ถือเอาคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

(วรรคสอง)  ..............................................ฯลฯ.....................................    (วรรคสาม) ................................................ฯลฯ....................................

 เมื่อวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งมติให้คณะกรรมการ ป... ผู้ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว

๓.๑๑) เป็นผู้รับและส่งคำร้องกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา เข้าชื่อดำเนินคดีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา

มาตรา ๑๗  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ากรรมการผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ

คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว กระทำการตามวรรคหนึ่งเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจนและให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อพิจารณาพิพากษา

(วรรคสาม)......................................ฯลฯ.............................................

(วรรคสี่)..........................................ฯลฯ.............................................

 

                    ๓.๑๒)  เป็นผู้วินิจฉัยสั่งว่ามีเหตุผล  ความจำเป็น  ความเหมาะสมและสมควรที่สมาชิกวุฒิสภาคนใดซึ่งรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ไว้ให้ตกเป็นสิทธิของสมาชิกวุฒิสภาคนนั้นหรือไม่

                   ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  พ.ศ. ๒๕๔๓ ๑๔

          ข้อ  ๔  ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลนอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย  หรือกฎ  ข้อบังคับ  ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

                   ข้อ  ๕  เจ้าหน้าที่ของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้    ดังต่อไปนี้

                   (๑)  รับทรัพย์สินหรือประโยชนอื่นใดจากญาติซึ่งให้โดยเสน่หาตามที่จำนวนที่เหมาะสมตามฐานานุรูป

                   (๒)  รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ญาติมีราคาหรือมูลค่าในการรับจากแต่ละบุคคล  แต่ละโอกาส  ไม่เกินสามพันบาท

                   (๓)  รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป

ข้อ ๗ การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ หรือมีราคาหรือมีมูลค่ามากว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับมาแล้วโดยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรับไว้เพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพ หรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นต้องแจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน สถาบัน หรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัด โดยทันทีที่สามารถกระทำได้ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีเหตุผลตามจำเป็น ความเหมาะสม และสมควรที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นไว้เป็นสิทธิของตนหรือไม่

ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน หรือสถาบันหรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดมีคำสั่งว่าไม่สมควรรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าว ก็ให้

 

คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้ทันที ในกรณีที่ไม่สามารถคืนให้ได้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ดังกล่าวให้เป็นสิทธิของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้สังกัดโดยเร็ว

(วรรคสาม) ...ฯลฯ...

(วรรคสี่) ...ฯลฯ...

ในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ได้รับทรัพย์สินไว้ตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง... สมาชิกวุฒิสภา... ให้แจ้งรายละเอียดข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นต่อ ประธานวุฒิสภา ... เพื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง

 

๔.  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                   ๔.๑) เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ๑๕

                   มาตรา ๕ ให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ...ฯลฯ...

                   ให้ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ

                  

                   .๒) รับบัญชีรายชื่อ และเรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และหากมีกรณีมีผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันอันเป็นเหตุให้ผู้มีผู้ได้รับเลือกเกินจำนวนที่จะพึงมีได้ตามกฎหมาย  ให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก

                   มาตรา ๘  การสรรหาและการเลือกกรรมการให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

(๑)  ...ฯลฯ... และให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นกรรมการตามมาตรา ๕ จำนวนยี่สิบสองคน โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิงและชาย เสนอต่อประธานวุฒิสภา ...ฯลฯ...

(๒)  ให้ประธานวุฒิสภา เรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) ...ฯลฯ... ถ้าผู้ได้คะแนนเสียงเท่ากันอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสิบเอ็ดคน ให้ประธานวุฒิสภา จับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก ...ฯลฯ...

  

๕.๓) รับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  ซึ่งเข้าชื่อกันขอให้วุฒิสภาถอดถอนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

มาตรา ๑๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อ ร้องต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่งเพราะเหตุที่กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชน  หรือไม่เป็นกลางหรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย  หรือบกพร่องทางศีลธรรมจรรยาที่อาจมีผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการดำรงตำแหน่งหน้าที่ หรือต่อการส่งเสริมหรือคุ้มครองสิทธิมนุษยชน หรือมีส่วนได้เสียในกิจการหรือธุรกิจใด ๆ ที่อาจมีผลกระทบโดยตรงหรือก่อให้เกิดความเสียหายทำนองเดียวกัน หรือเคยมีพฤติกรรมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง

 

๕. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒

                   ๕.๑) เป็นผู้เรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ในกรณีที่มีผู้รับคะแนนเท่ากันระดับใดอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกิน ๓ คน ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้จับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก

                   มาตรา ๖ การสรรหาและการเลือกกรรมการผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาให้ดำเนินการ ดังนี้

                   (๑) ...ฯลฯ...

(๒) ...ฯลฯ...

                   (๓) ...ฯลฯ...

                   (๔)   ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภา เพื่อมีมติเลือกผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ  ตาม (๓) จำนวนไม่เกินสามคน ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ ในการนี้ให้ผู้ซึ่งได้รับคะแนน  สูงสุดและมีคะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภาตามลำดับ เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา

                   ในกรณีที่มีผู้ได้รับคะแนนเท่ากันในลำดับใดเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสามคนให้ประธานวุฒิสภาจับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก

                   (๕) ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตาม (๔) ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบ และให้ดำเนินการตาม (๑) (๒) และ (๓) ใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้รับแจ้ง  ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติใน (๔) มาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   ๕.๒) เป็นผู้นำรายชื่อขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของ   รัฐสภา๑๖

                   มาตรา ๘ ให้ประธานวุฒิสภานำรายชื่อผู้ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาตามมาตรา ๖ หรือมาตรา ๗ ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

 

๖. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒

                   .๑) จัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รับบัญชีรายชื่อและเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

                   มาตรา ๘ การสรรหาและการเลือกกรรมการให้ดำเนินการดังต่อไปนี้

                   (๑) ให้ประธานวุฒิสภา จัดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการจำนวนสิบห้าคนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นนิติบุคคลทุกแห่งซึ่งเลือกกันเองให้เหลือเจ็ดคน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละหนึ่งคนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน และให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา ๖ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ เป็นจำนวนสองเท่าของแต่ละประเภทเสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยได้รับความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว มติในการเสนอชื่อต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการสรรหาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

                   (๒) ให้ประธานวุฒิสภา เรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อตาม (๑) ...ฯลฯ... ถ้าในประเภทเดียวกันมีผู้ได้คะแนนเท่ากันอันเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับเลือกเกินสองคนให้ประธานวุฒิสภา จับสลากว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือก ...ฯลฯ...

                  

                   ๖.๒)  เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน๑๗

                   มาตรา ๘ ...ฯลฯ...

                   (๑) ...ฯลฯ...

                   (๒) ...ฯลฯ...

วรรคสาม ...ฯลฯ...

                   ให้ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ

                   มาตรา ๙ ...ฯลฯ...

                   ...ฯลฯ...ประธานวุฒิสภา จะนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรด-เกล้าฯ แต่งตั้งได้ต่อเมื่อผู้ได้รับเลือกได้ลาออก ...ฯลฯ...

 

                   ๖.๓) รับคำร้องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๔ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เพื่อขอให้วุฒิสภามีมติให้กรรมการตรวจเงินแผ่นดินพ้นจากตำแหน่ง

                   มาตรา ๑๓ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่มีสิทธิร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติให้กรรมการพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุที่กรรมการนั้นมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงหรือบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง

                   มติของวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

                   ๖.๔)  รับบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงิน    แผ่นดินแล้วเสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

                   มาตรา ๓๐ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๘ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ เพื่อเสนอต่อประธานวุฒิสภา

                   ...ฯลฯ...

                   ...ฯลฯ...

                   มาตรา ๓๑ เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายชื่อบุคคลตามมาตรา ๓๐ แล้ว        ให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

                   ...ฯลฯ...

                   ...ฯลฯ...

                   ๖.๕)  เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง และนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

                   มาตรา ๓๑ ...........................ฯลฯ..................................

                   (วรรคสอง)...........................ฯลฯ..................................

                   เมื่อวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ...ฯลฯ...

ให้ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน         

                   ๖.๖)  รับรายงานของกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วส่งให้คณะกรรมาธิการของวุฒิสภา ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการติดตามผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ในกรณีดังต่อไปนี้

                   มาตรา ๔๗  ในกรณีที่ผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีความเสียหายเกิดขึ้น เพราะมีผู้กระทำการโดยมิชอบ เป็นเหตุให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์ของหน่วยรับตรวจต้องเสียหายหรือประโยชน์น้อยกว่าที่ควร สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อรายงานให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบ

                   มาตรา ๔๘  ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

                   รายงานผลการปฏิบัติงานจะต้องรายงานผลการปฏิบัติงานที่สำคัญในทุกด้าน เว้นแต่ในเรื่องหรือข้อที่ตรวจพบนั้น ผู้ว่าการโดยการปรึกษากับคณะกรรมการเห็นว่าควรแก่การรักษาไว้เป็นความลับหรือมีกฎหมายห้ามมิให้เปิดเผย

                   รายงานดังกล่าวเมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และ
คณะรัฐมนตรี แล้วให้เผยแพร่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต่อสาธารณชนได้

                   มาตรา ๔๙ ในกรณีที่ปรากฏว่ามีความจำเป็นหรือเหมาะสมเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรีได้ทราบผลการตรวจสอบได้ทันเหตุการณ์ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจะทำรายงานผลการปฏิบัติงานเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี เป็นรายงานระหว่างปี เมื่อสิ้นสุดงานตรวจสอบเฉพาะกรณีก็ได้ แล้วให้นำมาตรา ๔๘ วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม

                   มาตรา ๕๐ เมื่อประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา ได้รับรายงานตามมาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ หรือมาตรา ๔๙ แล้ว ให้จัดส่งรายงานดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะกรรมาธิการของวุฒิสภา แล้วแต่กรณีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ    ติดตามผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

                   ๖.๗)  ร่วมแต่งตั้งผู้ตรวจสอบการรับจ่ายเงินและทรัพย์สิน บัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

                   มาตรา ๕๙  ในการตรวจสอบการรับจ่ายเงินและทรัพย์สิน บัญชี ทะเบียน เอกสาร หรือหลักฐานอื่นของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน  ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร  ประธานวุฒิสภา  

นายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกันแต่งตั้งผู้ตรวจสอบจำนวนหนึ่งและรายงานผลการตรวจสอบให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบ

                   ในการตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา ๓๙ (๒) (ก) มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๗ มาใช้บังคับอนุโลม

 

๗.  พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒

๗.๑) เป็นผู้ออกบัตรประจำตัว สำหรับตำแหน่งประธานวุฒิสภา รองประธาน-    วุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา เลขาธิการวุฒิสภา และข้าราชการฝ่ายการเมืองในวุฒิสภา

มาตรา ๖ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นผู้ออกบัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

(๑) ...........ฯลฯ............

(๑๐) ประธานวุฒิสภา สำหรับตำแหน่งประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา เลขาธิการวุฒิสภา และข้าราชการฝ่ายการเมืองในวุฒิสภา

 

๗.๒) เป็นผู้รับการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของบุคคลดังต่อไปนี้ ประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา เลขาธิการวุฒิสภา และข้าราชการฝ่ายการเมืองในวุฒิสภา

กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัว    เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อ ๑ ในการขอมีบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำคำขอมีบัตรประจำตัวยื่นต่อบุคคลดังต่อไปนี้

(๑) ...ฯลฯ...

(๒) ...ฯลฯ...

(วรรคสอง) ...ฯลฯ...

ประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา เลขาธิการวุฒิสภา และข้าราชการฝ่ายการเมืองในวุฒิสภา ให้ยื่นคำขอต่อประธานวุฒิสภา

...ฯลฯ...

 

๘) พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒

                   ๘.๑) หน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปีของสำนักงานเลขาธิการ-   วุฒิสภา ต่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ 

                  มาตรา ๑๓ ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการ๑๘ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐมนตรีซึ่งตามกฎหมายให้มีหน้าที่กำกับ หรือควบคุมกิจการของรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจนั้นต่อผู้อำนวยการ ภายในเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด

                   ในกรณีรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของทุน เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบตามความในวรรคก่อน

                   งบประมาณประจำปีนั้น ถ้ามิได้ยื่นภายในกำหนดเวลา ตามความในสองวรรคแรก ผู้อำนวยการอาจพิจารณาการตั้งงบประมาณประจำปีตามที่เห็นสมควร

 

Hexagon: อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔

  

 

 

 

 


 

                   หมวด ๒ : อำนาจและหน้าที่ของประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา

                   ข้อ ๑๐  ประธานวุฒิสภามีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

                   (๑)     ควบคุมและดำเนินกิจการของวุฒิสภา

                   (๒)     เป็นประธานของที่ประชุม

(๓)     รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมวุฒิสภาตลอดถึงบริเวณที่ประชุม    วุฒิสภา

(๔)     เป็นผู้แทนวุฒิสภาในกิจการภายนอก

(๕)     แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ตาม (๖)

(๖)     อำนาจและหน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

หมายเหตุ ; ส่วนรายละเอียดในการดำเนินการก็จะระบุไว้ในแต่ละหมวด หรือแต่ละส่วนนั้น ๆของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา

 

 

Hexagon: อำนาจหน้าที่ตามประมวลจริยธรรมของ
               สมาชิกวุฒิสภาและ  กรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๕
 

  

 

 

 

 


 

๑.    ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๕

๑.๑)  เป็นผู้รักษาการตามประมวลจริยธรรมฯ

     ข้อ ๔  ให้ประธานวุฒิสภารักษาการตามประมวลจริยธรรมนี้

 

๑.๒) เป็นประธานคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา

     ข้อ ๒๕ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา” ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

(๑)  ประธานวุฒิสภาเป็นประธานคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา

....ฯลฯ...

                  

๒.     ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมวุฒิสภา

พ.ศ. ๒๕๔๘

๒.๑)  เป็นผู้รักษาการตามระเบียบฯ

     ข้อ ๔ ให้ประธานคณะกรรมการรักษาการตามระเบียบนี้

 

๒.๒)  หน้าที่ในการจัดส่งสำเนาคำร้องและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงพร้อมทั้งสั่งปิดประกาศ และส่งสำเนาประกาศ

     ข้อ ๑๔  เมื่อคณะกรรมการมีมติรับคำร้องไว้พิจารณาตามข้อ ๑๓      วรรคแรกแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการจัดส่งสำเนาคำร้องแก่ผู้ถูกร้อง และให้ผู้ถูกร้องยื่นคำ     ชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

     ในกรณีที่ไม่สามารถส่งสำเนาคำร้องและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงแก่ผู้ถูกร้องได้ หรือผู้ถูกร้องไม่ยอมรับสำเนาคำร้องและหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงให้ประธานคณะกรรมการสั่งให้ปิดประกาศ ณ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อให้ผู้ถูกร้องมารับ

 

 

สำเนาคำร้องและส่งหนังสือกำหนดเวลาให้ยื่นคำชี้แจงภายในสิบห้าวันนับแต่วันปิดประกาศ และส่งสำเนาประกาศทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่ผู้ถูกร้อง  ณ สถานที่ตามวรรคสองในวันปิดประกาศนั้นด้วย

 

................................................................................

 

 

 

                                               

 

 

                  

 


 

[๑] อย่างไรก็ดี เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง  รัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง  ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (มาตรา ๑๓๑)  ซึ่งความแตกต่างกับกรณีประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ดำรงตำแหน่ง จนถึงวันก่อนวันเลือกประธานคนใหม่

 

[๒] หน้าที่ในการนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง กำหนดให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ดังกล่าวไว้ในมาตรา ของ ..ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ..๒๕๔๒

 

[๓] โปรดดู  อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา  พ.ศ. ๒๕๔๒  หน้า ๓๑- ๓๒

หน้าที่ในการนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง กำหนดให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ดังกล่าวไว้ในมาตรา ของ ..คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ..๒๕๔๒

โปรดดูอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒ หน้า ๓๐-๓๑

รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดว่าให้บุคคลใดเป็นผู้นำ    ความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้ง แต่โดยหลักปฏิบัติแล้วมีว่า กฎหมายกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราช-โองการ ก็ย่อมเป็นบุคคลนั้นเองที่จะต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป

 

โปรดดูเชิงอรรถที่ ๖

กรณีของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ร.บ.ประกอบ ร.ธ.น.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒   มาตรา ๓๑ กำหนดความไว้ชัดเจนให้ประธานวุฒิสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน  ส่วนกรณีกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้นเมื่อดูบทบัญญัติในมาตรา ๙ของกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว  ข้อความก็แสดงอยู่ในตัวแล้วว่า ประธานวุฒิสภาจะต้องเป็นผู้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง  (ดูอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ.ประกอบ ร.ธ.น.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ข้อ ๖.๒  หน้า ๓๒ -๓๓)

 

โปรดดูอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒   ข้อ ๖.๑  (หน้า ๓๒)

 

 

๑๐ โปรดดูข้อ ๒.๒) (หน้า ๘) และ  อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่น  ข้อ ๓.๒) (หน้า  ๒๓-๒๔)

 

 

 

๑๑  โปรดดูอำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา  พ.ศ. ๒๕๔๔   (หน้า  ๓๖  )

๑๒ โปรดดูเทียบเคียงกับ  อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ  ข้อ  ๑.๕  (หน้า ๖)

๑๓ โปรดดูเทียบเคียงกับ  อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ  ข้อ ๒.๓ (หน้า ๙)

๑๔ ประกาศฯ  ฉบับนี้  ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๐๓  แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒

 

๑๕ โปรดดูเทียบเคียงกับ  อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ  ข้อ ๑.๓ (หน้า ๕)

๑๖ โปรดดูเทียบเคียงกับ  อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ  ข้อ ๑.๒ (หน้า ๔)

๑๗ โปรดดูเทียบเคียงกับ  อำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ  ข้อ ๑.๖ (หน้า ๖)

๑๘ โปรดดูอำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภาตาม มาตรา ๒๒  ประกอบมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบปฏิบัติราชการของรัฐสภา  พ.ศ.  ๒๕๑๘      (หน้า ๑๗-๑๘)