ทิศทางการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อรองรับเสรี อาเซียน

ทิศทางการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อรองรับเสรี อาเซียน
ในปี 2558 ประเทศในกลุ่มอาเซียนจำนวน 10 ประเทศ จะได้มีการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community AEC) ซึ่งการรวมตัวดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้า บริการ การลงทุนการเคลื่อนย้ายเงินทุน และแรงงาน ส่วนเรื่องของภาษีอากรนั้นก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี เพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างประเทศในกลุ่มเพื่อเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบภาษี ตลอดจนการบริหารจัดเก็บภาษีของแต่ละประเทศ

ดังนั้น กรมสรรพากรในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีของประเทศจึงต้องมีการปรับปรุงระบบภาษีอากรให้เอื้ออ่านวยต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงต้องสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีความพร้อมที่จะรองรับผู้เสียภาษีที่เป็นชาวต่างชาติและกิจการข้ามชาติ จึงได้มีการดำเนินการดังนี้

1. การปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.1 การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และ ร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป

1.2 การเตรียมการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเน้นเรื่องการกระจายภาระภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และขณะเดียวกันการปรับอัตราภาษีให้แข่งขันกับต่างประเทศได้

2. การเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนอื่นในภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี โดยออกมาตรการภาษีดังนี้

2.1 การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการซื้อขายผ่านระบบที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียน

2.2 การกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินปันผลจากบริษัทหรือ

ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้นำหลักทรัพย์เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้

3. การเร่งรัดให้มีอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริม

ความร่วมมือในการขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนและการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยเร่งรัดการจัดทำอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศที่ยังไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดทำอนุสัญญาภาษีซ้อนแก่ประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้ทุกประเทศมีอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างกันครบถ้วน

4. การป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาติ โดยเตรียมการออกมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) มาตรการป้องกันการตั้งทุนต่ำ (Thin Capitalization) มาตรการป้องกันการกักเก็บกำไรไว้ในประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ (Controlled Foreign Company) รวมทั้งมาตรการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีเป็นการทั่วไป (General AntiAvoidance Rule) โดยที่มาตรการเหล่านั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนระหว่างประเทศ

5. การพัฒนาสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของบุคลากรกรมสรรพากร เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ โดยมีโครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษแก่บุคลากรทุกระดับ

6. การอ่านวยความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีที่เป็นชาวต่างชาติ โดยการแปลเอกสารภาษีและข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ เช่น แบบแสดงรายการภาษี คู่มือการเสียภาษี รวมทั้งเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ที่มา :  ดร. สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร (สยามรัฐ)


ข้อมูลเมื่อวันที่ 00:00:00 ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 00:00:00 มีการเปิดอ่าน 1054 ครั้ง

หน้าหลัก ID:79

การไปเยือนประเทศสมาชิกอาเซียน

การรับรองคณะจากประเทศสมาชิกอาเซียน

ข้อมูลประเทศสมาชิกอาเซียน

ASEAN+3

 


จำนวนคนเข้าเยี่ยมชม
00229271