อำนาจหน้าที่

สำนักการประชุมมีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไปของสำนัก
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับด้านงานเลขานุการของที่ประชุมวุฒิสภา
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์  ติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินสถานการณ์  และเปรียบเทียบ  ร่างพระราชบัญญัติ     ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือพระราชกำหนดที่วุฒิสภา  ต้องพิจารณาตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุม
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับร่างญัตติ และคำแปรญัตติให้แก่สมาชิกวุฒิสภารวมทั้งวิเคราะห์ และตรวจสอบข้อมูลเพื่อประกอบการ พิจารณาและเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา
(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับร่างกระทู้ถาม ให้แก่สมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งวิเคราะห์ และตรวจสอบข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา และเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง  ตลอดจนการถอดถอน  ที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมวุฒิสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
(๗) ดำเนินการเกี่ยวกับการนัดประชุมและระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา
(๘) ดำเนินการจัดทำขั้นตอน แนวทาง และวิธีการดำเนินการประชุมวุฒิสภา
(๙) ดำเนินการเกี่ยวกับการลงมติของที่ประชุมวุฒิสภา และยืนยันมติของที่ประชุมวุฒิสภา  ไปยังส่วนราชการหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

 วิสัยทัศน์สำนักการประชุม

สำนักการประชุมเป็นสำนักที่มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ ทั้งในด้านการจัดการประชุมวุฒิสภา การบริหารจัดการภายใน การจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน 

พันธกิจสำนักการประชุม

การให้บริการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประชุมวุฒิสภาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดังนี้

๑. จัดการประชุมวุฒิสภาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประโยชน์แก่การดำเนินงานของวุฒิสภา
๒. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในบทบาทอำนาจหน้าที่ของสำนักการประชุมต่อสาธารณะ
๓. ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมวุฒิสภาที่รวดเร็ว ทันสมัย ด้วยความรับผิดชอบ และเชื่อถือได้

สำนักการประชุม ประกอบด้วย 5 กลุ่มงาน  ได้แก่ 

กลุ่มงานบริหารทั่วไป / กลุ่มงานญัตติ / กลุ่มงานกระทู้ถาม / กลุ่มงานพระราชบัญญัติ / กลุ่มงานระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา


กลุ่มงานบริหารทั่วไป  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

  ดังนี้

๑.  ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ  และธุรการทั่วไปของสำนัก
๒. ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ  ครุภัณฑ์  การเงิน  และงบประมาณประจำงวดของสำนัก
๓. ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและข้อมูลด้านงานบุคคลเบื้องต้นของสำนัก
๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนงาน และงบประมาณ รวมถึงการประสานงานด้านแผน 
๕. รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณและสถิติของสำนัก
๖. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของที่ประชุมวุฒิสภา
๗. ดำเนินการจัดทำบัตรออกเสียงลงคะแนน จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการประชุมวุฒิสภา
๘. ดำเนินการวางแผน การพัฒนาอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกวุฒิสภาในการประชุมวุฒิสภา
๙. ดำเนินการประสานกับผู้แทนของส่วนราชการ หน่วยงานหรือองค์กรอิสระที่มาชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา
๑๐. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


กลุ่มงานญัตติ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

๑. ดำเนินการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาและเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภาเกี่ยวกับญัตติ
๒. ดำเนินการจัดทำร่างญัตติและร่างคำแปรญัตติให้แก่สมาชิกวุฒิสภา
๓. ดำเนินการติดตามมติและยืนยันมติของที่ประชุมไปยังหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามมติของที่ประชุม
๔. ดำเนินการติดตามผลการดำเนินการของหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องดำเนินการหรือปฏิบัติตามมติของที่ประชุม
๕. ดำเนินการจัดทำข้อมูลสถิติในการดำเนินการเกี่ยวกับญัตติ รวมทั้งการให้บริการแก่สมาชิกวุฒิสภา
๖. ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมวุฒิสภา
๗. ดำเนินการเกี่ยวกับการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมวุฒิสภา
๘. ศึกษา วิเคราะห์ และให้ความเห็นในการเสนอเรื่องเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือรับทราบตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น
๙. ตรวจสอบและให้ความเห็นในการเสนอเรื่องเพื่อขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณากรณีการให้เอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันแก่สมาชิกวุฒิสภาในระหว่างสมัยประชุมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
๑๐. ปฏิบัติงานอื่นใดที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมวุฒิสภาในกรณีที่มิได้กำหนดว่าเป็นความรับผิดชอบของกลุ่มงานใด
๑๑. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


กลุ่มงานกระทู้ถาม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

๑.ดำเนินการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูล  เพื่อประกอบการพิจารณาและเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภาเกี่ยวกับกระทู้ถาม
๒.ดำเนินการจัดทำร่างกระทู้ถามให้แก่สมาชิกวุฒิสภา
๓.ดำเนินการแจ้งผลการวินิจฉัยไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและผู้ตั้งกระทู้ถาม
๔.ติดตามผลการดำเนินการของส่วนราชการเพื่อให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องมาตอบกระทู้ถาม
๕.ดำเนินการแจ้งเหตุขัดข้อง/จัดส่งสำเนาคำตอบไปยังผู้ตั้งกระทู้ถาม
๖.ดำเนินการจัดทำข้อมูลและสถิติในการดำเนินการเกี่ยวกับกระทู้ถาม  รวมทั้งให้บริการแก่สมาชิกวุฒิสภา  ส่วนราชการและประชาชน
๗.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย


กลุ่มงานพระราชบัญญัติ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

๑. ดำเนินการวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ร่างพระราชบัญญัติ  หรือพระราชกำหนดที่วุฒิสภาต้องพิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 
๒. ดำเนินการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ร่างพระราชบัญญัติ  หรือพระราชกำหนดที่วุฒิสภาต้องพิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  เพื่อประกอบการพิจารณาของวุฒิสภา
๓. ดำเนินการตรวจสอบ  พิจารณาและเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ร่างพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่วุฒิสภาต้องพิจารณาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  และข้อบังคับการประชุม
๔. ดำเนินการติดตามผลการประชุมและมติของที่ประชุมวุฒิสภาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ร่างพระราชบัญญัติ  หรือพระราชกำหนด
๕. ดำเนินการแจ้งผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ร่างพระราชบัญญัติ  หรือพระราชกำหนดไปยังส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖. ดำเนินการจัดทำข้อมูลและสถิติในการดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ  ร่างพระราชบัญญัติ  หรือพระราชกำหนดที่วุฒิสภาได้รับไว้พิจารณา รวมทั้งการให้บริการแก่สมาชิกวุฒิสภา  ส่วนราชการและประชาชนทั่วไป
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


กลุ่มงานระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ  ดังนี้

๑. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม และประเมินสถานการณ์เพื่อวางแผนการดำเนินการประชุมวุฒิสภา
๒. ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาเพื่อจัดทำหนังสือนัดประชุมและระเบียบวาระการประชุมวุฒิสภา
๓. ดำเนินการจัดทำสำเนาเอกสารการประชุมและระเบียบวาระการประชุมให้แก่สมาชิกวุฒิสภา ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๔. ดำเนินการจัดส่งหนังสือนัดประชุมและระเบียบวาระการประชุมให้แก่สมาชิกวุฒิสภา ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์เรื่องที่บรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุม  เพื่อจัดทำขั้นตอนการประชุมวุฒิสภา
๖. ดำเนินการประสานงานและวางแผนการปฏิบัติงานกับส่วนราชการ หน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
๗. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย




ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 10:37:46 ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2556 14:25:21 มีการเปิดอ่าน 5289 ครั้ง


นายอัมฤทธิ์  เกตุแก้ว
ผู้อำนวยการ
สำนักการประชุม




 คู่มือการสนับสนุนกระบวนการตราพระราชบัญญัติ
ของวุฒิสภา
 

องค์ความรู้เทคนิคการจัดทำกระทู้ถาม


สรุปผลโครงการสัมมนาฯ

เครือข่าย 2557 

สรุปโครงการสัมนาฯ เครือข่าย 2560

 

คู่มือการปฏิบัติงาน
สำนักการประชุม

สรุปผลงาน
ด้านการประชุมวุฒิสภา
พ.ศ. 2562


ประมวลแบบของกฎหมาย
ที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบ
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

คู่มือการปฏิบัติงาน
ของสำนักการประชุม
พ.ศ. ๒๕๕๙
ประมวลแบบของกฎหมาย
ที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบ
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๑)

องค์ความรู้ ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ 


แผนบริหารความเสี่ยงทุจริตประพฤติมิชอบ
ของสำนักการประชุม
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓

 

 






   -  ร่างพระราชบัญญัติ
   -  พระราชกำหนด
   -  ญัตติ
   -  กระทู้ถาม
   -  รายงานประจำปี
   -  หนังสือสัญญา
   -  เรื่องอื่น ๆ
   -  สรุปผลงานด้านการประชุม




- ประกาศวุฒิสภา
- แบบฟอร์มญัตติและกระทู้ถาม

   


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


จำนวนคนเข้าเยี่ยมชม
00064424