อำนาจหน้าที่

  1. กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง ภารกิจ ขอบเขต และแผนการตรวจสอบให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ภารกิจ และนโยบายของสำนังานเลขาธิการวุฒิสภา
  2. ตรวจสอบส่วนราชการภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในด้านการดำเนินงานการเงินและบัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติตามระบบ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายในตามที่รับมอบหมายจากเลขาธิการวุฒิสภา
  3. รายงานผลการตรวจสอบตามข้อเท็จจริง ซึ่งรวมถึงประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ ข้อเสนอแนะและแนวทางในการปรับปรุงที่สามารถนำไปปฏิบัติให้แก่เลขาธิการวุฒิสภาทราบเพื่อพิจารณาสั่งการ
  4. ติดตามผลการตรวจสอบเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ เพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามการสั่งการของเลขาธิการวุฒิสภา
  5. ประสานงานกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือหน่วยงานอื่นหรือคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
  6. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจหน้าที่ (ตามกฎบัตรการตรวจสอบภายใน)

  1. กลุ่มงานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานทุกหน่วยงานภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล เอกสาร ทรัพย์สิน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบ
  2. กลุ่มงานตรวจสอบภายใน ไม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย วิธีปฏิบัติงานและจัดวางระบบการควบคุมภายใน หรือแก้ไขระบบการควบคุมภายใน ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการสอบทานและประเมินระบบการควบคุมภายใน

ขอบเขตการตรวจสอบ

  1. ตรวจสอบและประเมินผลความถูกต้องและเชื่อถือได้ของข้อมูลและตัวเลขต่างๆ ทางการเงิน บัญชี และรายงานทางการเงิน
  2. ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
  3. ตรวจสอบและประเมินผลประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของการดำเนินงานในหน้าที่ของหน่วยรับตรวจ เสนอแนะปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง
  4. ติดตามผลการตรวจสอบ และให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ เพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขของหน่วยรับตรวจเป็นไปตามข้อเสนอแนะ ในรายงานผลการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบ

ความรับผิดชอบ

  1. ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีอิสระทั้งในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นในการตรวจสอบตามที่เห็นสมควร ตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
  2. ผู้ตรวจสอบภายใน ต้องปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และขอบเขตการปฏิบัติของหน่วยงาน ภายใต้กรอบหรือแนวทางปฏิบัติงานตรวจสอบภายในเยี่ยงผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพพึงปฏิบัติโดยยึดถือจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน
  3. กลุ่มงานตรวจสอบภายใน ต้องประสานงานกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบรรลุเป้าหมายและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยรับตรวจ เพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ ในอันที่จะทำให้ผลการตรวจสอบมีประโยชน์ สามารถนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. กลุ่มงานตรวจสอบภายใน ต้องจัดให้มีกระบวนการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน โดยจะต้องประเมินตนเอง เพื่อสอบทาน หรือทบทวนการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมาว่าการปฏิบัติงานเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน ของส่วนราชการ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น




ข้อมูลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 09:43:09 ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 10:55:52 มีการเปิดอ่าน 2973 ครั้ง

แบบสอบถามการประเมินผลระบบการควบคุมภายใน

ผลการประเมินตนเอง



จำนวนคนเข้าเยี่ยมชม
00023030